เมนู

[2107] 6. อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัย
แก่พหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย

คือ กวฬีการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็น
ปัจจัยแก่กายที่เป็นพหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.

16. อินทริยปัจจัย ฯลฯ 19. สัมปยุตตปัจจัย


[2108] 1. อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วย
อำนาจของอินทริยปัจจัย

อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ก็ดี, รูปชีวิตินทรีย์ ก็ดี พึง
ให้พิสดาร.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ-
ของมัคคปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.


20. วิปปยุตตปัจจัย


อัชฌัตตธรรมเป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจของ
วิปยุตตปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
บทมาติกาทั้งหลาย ผู้มีปัญญา พึงให้พิสดาร.
[2109] 2. พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่ สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ ฯลฯ.

21. อัตถิปัจจัย


[2110] 1. อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ, หทยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย.
มหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3
ฯลฯ.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรมที่เกิดภายหลัง และ กวฬีการาหาร
ที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตตธรรม.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย